Thaksin University : กิจกรรมของสถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ

Thaksin University : กิจกรรมของสถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ




สถาบันปฏิบัติการชุมชนเพื่อการศึกษาแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ ทำหน้าที่ในการเชื่อมประสาน และอำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเพื่อถ่ายโยงความรู้ไปสู่ชุมชน รวมทั้งถอดองค์ความรู้ในชุมชนเพื่อจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการให้กับนิสิตของมหาวิทยาลัย และพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับชุมชนตามอัตลักษณ์ของชุมชนนั้นๆ ด้วยแนวคิดใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการถอดบทเรียนจากชุมชนชนเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ พัฒนานิสิตให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ ตามอัตลักษณ์การผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัย (รับผิดชอบ รอบรู้ สู้งาน มีประสบการณ์เชิงปฏิบัติ) ในขณะเดียวกันก็พัฒนาองค์ความรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับความรู้ในชุมชนให้สูงขึ้น ถ่ายทอดคืนสู่ชุมชน เพื่อปรับกระบวนทัศน์และพฤติกรรม รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ภายในชุมชน เกิดกลไกสร้างความเข้มแข็ง ด้วยการพึ่งพาตนเอง และกลายเป็น แหล่งเรียนรู้บนฐานชีวิตจริงที่มีคุณค่าให้นิสิตต่อไป ในขณะเดียวกันสถาบันเองก็ได้พัฒนาตนเองไปสู่วัฒนธรรมขององค์กร แห่งการเรียนรู้ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ คืนกลับสู่ชุมชน ปัจจุบันอาจารย์ ดร.เปลื้อง สุวรรณมณี ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสถาบันฯ โดยเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความพร้อมให้นิสิต และร่วมรับผิดชอบต่อชุมชน อาทิ



 - การจัดกิจกรรมเรียนเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ อย่างสนุก ผ่านกิจกรรมทำโรตีกรอบ โดย จัดให้กับนักเรียน วมว ม.ทักษิณ



 - กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในชุมชน: เจ้าของสวนยางในชุมชนรับนิสิต ๕-๑๐ คน เป็นลูกบุญธรรม นำไปเรียนรู้วิถีชีวิตและการปลูกไม้ป่าในสวนยางและดูแลอย่างดี - กิจกรรมติดตามการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของไม้ตะเคียนทอง จำปาทอง พยอม และมะฮอกกานีที่ปลูกเป็นพืชร่วมในสวนยางพารา ของกลุ่มปลูกไม้ป่าในสวนยางชุมชนตะโหมด


 - นิสิต ม.ทักษิณ ติดดิน: แปลงทดลองปลูกข้าวไรซ์เบอรีแบบเปียกสลับแห้งโดยนิสิตนิติศาสตร์ ปีที่ 2 ที่เรียนรายวิชาวิถีชุมชนท้องถิ่น - กิจกรรมการนำเสนอผลงานวิจัยของนิสิต ปริญญาตรี ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งพบว่าการปลูกไม้ตะเคียนทองในสวนยางไม่มีมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตน้ำยางจากยางพารา แต่กลับเป็นผลดีทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมต่อชุมชน ทำให้ชุมชนมีกำลังใจในการขับเคลื่อนโครงการเพิ่มพื้นที่ป่าในสวนยางพาราต่อไป

 - กิจกรรมนำนิสิตคณะนิติศาสตร์ที่เรียนวิชาวิถีชุมชนท้องถิ่นจำนวน ๑๔๘ คน ลงพื้นที่ชุมชนตะโหมด ช่งเช้าจัดกิจกรรมจิตอาสา ช่วงบ่ายพัฒนาจิตใจ ช่วงเย็นดำนากล้าโยน เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมบ่มเพาะนิสิต ม.ทักษิณ ให้เป็นคนดีที่ติดดินออกไปรับใช้สังคม


 - กิจกรรมประเพณีสังคมสองศาสนา ชุมชนตะโหมด วันทำบุญกระดูกบรรพบุรุษ พี่น้องไทยพุทธนำอาหารและเงินร่วมทำบุญกับพี่น้องมุสลิม เป็นประเพณีสานสายใยรักและผูกพันระหว่างพี่น้องสอศาสนา ณ ชุมชนตะโหมด อ. ตะโหมด จ.พัทลุง

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น